เทคโนโลยี / นวัตกรรมพร้อมใช้

นำเสนอเทคโนโลยีและนวัตกรรมพร้อมใช้

เครื่องบดผสมปุ๋ยชีวภาพจากเศษเหลือทิ้งจากใช้ทางการเกษตร

เครื่องบดผสมปุ๋ย

78 Views
ผู้สนใจ คน

เครื่องบดผสมปุ๋ยชีวภาพจากเศษเหลือทิ้งจากใช้ทางการเกษตร
ต้นแบบ

ความรู้ / เทคโนโลยี

1. เครื่องบดผสมปุ๋ยชีวภาพจากเศษเหลือทิ้งจากใช้ทางการเกษตร ต้นแบบเป็นเครื่องผสมปุ๋ยหมักแบบถังหมุน (Figure3) ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้ 1) มอเตอร์ ขนาด 1 แรงม้า (220 โวลต์) 2) เกียร์ทดและชุดส่งกำลังโดยใช้เฟืองโซ่ 3) ชุดควบคุมการทำงาน 4) ตะแกรงยึดถัง 5) ถาดรับปุ๋ย 6) โครงเครื่อง และ 7) ถัง พลาสติกสาหรับใช้ผสมปุ๋ยขนาด 20 ลิตร (น้ำหนักถังเปล่า 1.50 กก.) 8) บอร์ดสมองกลฝังตัว KidBright 1 บอร์ด 9) สวิสรีเลย์ 1 ตัว 10) เซนเซอร์ EC (วัดค่าความชื้นของปุ๋ย) 1 ตัว 11) สายไมร์โครยูเอสบี 1 ชุด 2. ทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของมอเตอร์บดผสมปุ๋ยชีวภาพ โดยการทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของมอเตอร์บดผสมปุ๋ยชีวภาพ โดยทำการทดสอบ 10 ครั้งล่ะ 60 นาที กับการหาอัตราการบดปุ๋ยตามระยะเวลาที่ปุ๋ยชีวภาพได้ค่าความชื้นที่เหมาะสม ตามอัตราส่วนผสม 3 สูตร 3. การหาอัตราการบดปุ๋ยตามระยะเวลาที่ปุ๋ยชีวภาพได้ค่าความชื้นที่เหมาะสม ต่อการบดผสมปุ๋ยชีวภาพ ซึ่งค่าความชื้น (moisture) จุลินทรีย์ต้องการ ความชื้นในการเจริญเติบโต โดยทั่วไปกองปุ๋ยหมักควรมีความชื้น 40-60%

รายละเอียด

เครื่องบดผสมปุ๋ยชีวภาพจากเศษเหลือทิ้งจากใช้ทางการเกษตร สร้างขึ้นเพื่อเป็นนวัตกรรมต้นแบบที่ตอบสนองความต้องการของเกษตรกร ให้มีประสิทธิภาพ และมีอัตราการบดปุ๋ยตามระยะเวลาที่ปุ๋ยชีวภาพได้ค่าความชื้นที่เหมาะสม นำไปสู่การยกระดับและเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรด้วยการนำเศษเหลือทิ้งจากใช้ทางการเกษตรให้เกิดประโยชน์ในชุมชนได้อย่างยั่งยืนต่อไป

จุดเด่น

กลุ่มเกษตรกรได้ปุ๋ยชีวภาพที่ผลิดจากเครื่องบดผสมปุ๋ยชีวภาพจากเศษเหลือทิ้งจากใช้ทางการเกษตร ต้นแบบมีค่าความชื้นที่เหมาะสมมีคุณภาพประยุกต์ใช้ในพื้นที่ทำการเกษตรของตนเองได้จริง

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยแพะ กลุ่มเกษตรกรผู้ที่สนใจทำเป็นอาชีพเสริม และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอื่น ๆ ในอำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช

แหล่งเงินทุนที่ใช้วิจัย / นวัตกรรม

ไม่ระบุแหล่งทุน

ชื่อแหล่งเงินทุนที่ใช้วิจัย/นวัตกรรม

ทุนอุดหนุนจากเงินงบประมาณกองทุนเพื่อการวิจัย นวัตกรรม และงานสร้างสรรค์ ประจำปีงบประมาณ 2566

ทรัพย์สินทางปัญญา

เจ้าของสิทธิ์

ผศ.พัชรินทร์ อินทมาส

ตัวชี้วัดผลลัพธ์ ROI

80%

ปริมาณหน่วยนับ ROI

100%

ตัวชี้วัดผลลัพธ์ SROI

80%

ปริมาณหน่วยนับ SROI

100%

ตำบลที่ใช้นวัตกรรม

อำเภอที่ใช้นวัตกรรม

จังหวัดที่ใช้นวัตกรรม

พิกัดที่ใช้นวัตกรรม

8.14237, 100.26473

นวัตกรชุมชน / ผู้ใช้นวัตกรรม

นายไพฑูรย์ แก้วชูใส




QR code