เทคโนโลยี / นวัตกรรมพร้อมใช้

นำเสนอเทคโนโลยีและนวัตกรรมพร้อมใช้

สูตรอาหารเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (อีเอ็ม) ในการหมักเปลือกมันสำปะหลังและกรรมวิธีในการผลิต

สูตรอาหารเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (อีเอ็ม) ในการหมักเปลือกมันสำปะหลังเป็นสูตรอาหารเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์ที่นำมาคุณภาพของเปลือกมันสำปะหลัง โดยใช้ทดแทนอาหารสำเร็จรูปในการเลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอื้อง และสามารถลดต้นทุนการผลิตได้

84 Views
ผู้สนใจ คน

สูตรอาหารเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (อีเอ็ม) ในการหมักเปลือกมันสำปะหลังและกรรมวิธีในการผลิต
พร้อมใช้

ความรู้ / เทคโนโลยี

สูตรอาหารเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (อีเอ็ม) ในการหมักเปลือกมันสำปะหลังให้องค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีชีวภาพในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอาหารเลี้ยงเชื้ออีเอ็มในการหมักเปลือกมันสำปะหลังและกรรมวิธีในการผลิต

รายละเอียด

สูตรอาหารเลี้ยงเชื้ออีเอ็มในการหมักเปลือกมันสำปะหลังมีส่วนผสมดังนี้ การเตรียมหัวเชื้อ          1. ชั่งกากน้ำตาล ปริมาณร้อยละ 8.7 ผสมกับน้ำ ปริมาณร้อยละ 86.9 และทำการกวนให้กากน้ำตาลละลาย          2. เติมอีเอ็ม ปริมาณร้อยละ  4.4 ลงในสารละลายกากน้ำตาลในข้อ 1 จากนั้นทำการกวนให้เป็นเนื้อเดียวกัน          3. ตั้งสารละลายหัวเชื้อทิ้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อกระตุ้นให้จุลินทรีย์ตื่นตัว การเตรียมอาหารเลี้ยงเชื้อ 1. ชั่งยูเรีย ปริมาณร้อยละ 8.7 ผสมกับกากน้ำตาล ปริมาณร้อยละ 11.5 และน้ำ ร้อยละ 79.8 กวนให้กากน้ำตาลและยูเรียละลายเป็นเนื้อเดียวกัน          2. นำหัวเชื้อที่เตรียมไว้ ผสมกับอาหารเลี้ยงเชื้อในข้อ 1          3. เปิดปั๊มออกซิเจนเติมอากาศเพื่อกระตุ้นให้จุลินทรีย์ทำงานและเกิดการแพร่กระจาย เป็นเวลา 60 ชั่วโมง กรรมวิธีในการผลิตเปลือกมันสำปะหลังหมักอีเอ็ม          นำอาหารเลี้ยงเชื้อที่ได้มาหมักเปลือกมันสำปะหลัง โดยใช้สัดส่วนอาหารเลี้ยงเชื้อต่อเปลือกมันสำปะหลัง เท่ากับ 1 ต่อ 10 โดยบรรจุลงในถังพลาสติก แล้วทำการไล่อากาศออกให้มากที่สุดโดยการอัดให้แน่น ก่อนปิดฝาให้มิดชิด เป็นเวลา 14 วัน

จุดเด่น

สูตรอาหารเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (อีเอ็ม) ในการหมักเปลือกมันสำปะหลังเป็นสูตรอาหารเลี้ยงเชื้อที่สามารถเพิ่มคุณค่าโภชนะโปรตีนของเปลือกมันสำปะหลังให้สูงขึ้น และผลิตภัณฑ์เปลือกมันสำปะหลังหมักอีเอ็มสามารถใช้ทดแทนอาหารสำเร็จรูปในการเลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอื้องเพื่อลดต้นทุนการผลิตได้

กลุ่มเป้าหมาย

เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอื้อง

แหล่งเงินทุนที่ใช้วิจัย / นวัตกรรม

ไม่ระบุแหล่งทุน

ชื่อแหล่งเงินทุนที่ใช้วิจัย/นวัตกรรม

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

ทรัพย์สินทางปัญญา

อนุสิทธิบัตร (Petty Patent)

เจ้าของสิทธิ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

ตัวชี้วัดผลลัพธ์ ROI

ปริมาณหน่วยนับ ROI

ตัวชี้วัดผลลัพธ์ SROI

ปริมาณหน่วยนับ SROI

ตำบลที่ใช้นวัตกรรม

หัวนาคำ

อำเภอที่ใช้นวัตกรรม

อำเภอศรีธาตุ

จังหวัดที่ใช้นวัตกรรม

อุดรธานี

พิกัดที่ใช้นวัตกรรม

นวัตกรชุมชน / ผู้ใช้นวัตกรรม

กรวดีฟาร์ม




ประเภท : เทคโนโลยี / นวัตกรรมพร้อมใช้

หมวดหมู่ : เกษตร

ระดับผลงาน : SRL9

Tag : จุลิทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ เปลือกมันสำปะหลัก

QR code