เทคโนโลยี / นวัตกรรมพร้อมใช้

นำเสนอเทคโนโลยีและนวัตกรรมพร้อมใช้

ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากหอยพง: ข้าวเกรียบหอยพง หอยพงสามรส และผงเปลือกหอยปรับสภาพดิน

ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากหอยพง

121 Views
ผู้สนใจ คน

ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากหอยพง: ข้าวเกรียบหอยพง หอยพงสามรส และผงเปลือกหอยปรับสภาพดิน
พร้อมใช้

ความรู้ / เทคโนโลยี

วัสดุเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิต โมเดล BCG ได้ถูกนำมาใช้ในกระบวนการผลิต นั่นคือเปลือกหอยพงที่เหลือจากการแปรรูป สามารถนำมาแปรรูปให้เป็นสารช่วยปรับสภาพดิน เนื่องจากองค์ประกอบสำคัญคือแคลเซียมคาร์บอเนตในเปลือกหอย จะสามารถปรับสภาพดินที่เป็นกรดให้เป็นกลาง เหมาะสำหรับการเพาะปลูก ซึ่งนับว่าเป็นอีกนวัตกรรมที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ ดังนั้นนวัตกรรมที่ได้จากโครงการนี้จึงสามารถสร้างผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มได้จากทุกส่วนของวัตถุดิบหอยพง

รายละเอียด

    “บ้านบางจัน” ตำบลหล่อยูง อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา ชุมชนประมงที่อุดมด้วยหอยกะพงที่ชาวบ้านใช้ภูมิปัญญาในการหาหอยเพื่อเป็นอาหารและจำหน่าย สร้างรายได้ให้ชุมชน แต่อย่างไรก็ตามการจำหน่ายหอยสดขายในรูปแบบเดิมไม่สามารถต่อยอดการขายหรือขยายตลาดสินค้าได้ การสร้างผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าจากวัตถุดิบที่ชุมชนมีให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่อร่อย ถูกปากผู้ซื้อ และเป็นที่ต้องการของตลาด คือสิ่งที่จะสร้างรายได้ให้ชุมชนได้มากขึ้น      ทีมวิจัยได้พัฒนาผลิตภัณฑ์จากหอยพงเพื่อเพิ่มมูลค่า โดยแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเนื้อหอยพงให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่รับประทานได้ง่าย ใช้วัตถุดิบที่ชุมชนมี ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าทางโภชนาการ และสามารถยืดอายุการเก็บรักษาได้นาน คือ “หอยพงสามรส และข้าวเกรียบหอยพง” กระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์เหล่านี้เป็นนวัตกรรมที่สามารถผลิตผลิตภัณฑ์ได้โดยใช้ต้นทุนด้านอุปกรณ์การแปรรูปที่ชุมชนมี ยังไม่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากในการริเริ่ม แต่สิ่งที่ชุมชนได้มากกว่านั้น คือ องค์ความรู้ที่ได้จากการถ่ายทอดกระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทั้งสอง คือ สูตรที่ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ เทคนิคต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการแปรรูปทั้งการชั่งตวงที่มาตรฐาน การใช้ความร้อนที่เหมาะสม ลำดับขั้นตอนการแปรรูปเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ดี การเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพให้สอดคล้องกับต้นทุน ตลอดจนการเลือกบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม และการออกแบบฉลากบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์เพื่อนำไปจำหน่ายได้ทันที อีกทั้งองค์ความรู้เหล่านี้ชุมชนสามารถนำไปต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้นและหลากหลายมากขึ้น     นอกจากนี้ทีมวิจัยไม่มองข้ามวัสดุเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิต โมเดล BCG ได้ถูกนำมาใช้ในกระบวนการผลิต นั่นคือเปลือกหอยพงที่เหลือจากการแปรรูป สามารถนำมาแปรรูปให้เป็นสารช่วยปรับสภาพดิน เนื่องจากองค์ประกอบสำคัญคือแคลเซียมคาร์บอเนตในเปลือกหอย จะสามารถปรับสภาพดินที่เป็นกรดให้เป็นกลาง เหมาะสำหรับการเพาะปลูก ซึ่งนับว่าเป็นอีกนวัตกรรมที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ ดังนั้นนวัตกรรมที่ได้จากโครงการนี้จึงสามารถสร้างผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มได้จากทุกส่วนของวัตถุดิบหอยพง

จุดเด่น

กระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์เหล่านี้เป็นนวัตกรรมที่สามารถผลิตผลิตภัณฑ์ได้โดยใช้ต้นทุนด้านอุปกรณ์การแปรรูปที่ชุมชนมี ยังไม่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากในการริเริ่ม แต่สิ่งที่ชุมชนได้มากกว่านั้น คือ องค์ความรู้ที่ได้จากการถ่ายทอดกระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทั้งสอง คือ สูตรที่ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ เทคนิคต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการแปรรูปทั้งการชั่งตวงที่มาตรฐาน การใช้ความร้อนที่เหมาะสม ลำดับขั้นตอนการแปรรูปเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ดี การเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพให้สอดคล้องกับต้นทุน ตลอดจนการเลือกบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม และการออกแบบฉลากบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์เพื่อนำไปจำหน่ายได้ทันที อีกทั้งองค์ความรู้เหล่านี้ชุมชนสามารถนำไปต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้นและหลากหลายมากขึ้น

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มอนุรักษ์ประมงพื้นบ้านบ้านบางจัน กลุ่มแม่บ้านประมงบ้านบางจัน และสมาชิกบ้านบางจัน ตำบลหล่อยูง อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา

แหล่งเงินทุนที่ใช้วิจัย / นวัตกรรม

ไม่ระบุแหล่งทุน

ชื่อแหล่งเงินทุนที่ใช้วิจัย/นวัตกรรม

ธนาคารออมสิน

ทรัพย์สินทางปัญญา

เจ้าของสิทธิ์

ตัวชี้วัดผลลัพธ์ ROI

ปริมาณหน่วยนับ ROI

ตัวชี้วัดผลลัพธ์ SROI

ปริมาณหน่วยนับ SROI

ตำบลที่ใช้นวัตกรรม

หล่อยูง

อำเภอที่ใช้นวัตกรรม

อำเภอตะกั่วทุ่ง

จังหวัดที่ใช้นวัตกรรม

พังงา

พิกัดที่ใช้นวัตกรรม

นวัตกรชุมชน / ผู้ใช้นวัตกรรม

กลุ่มอนุรักษ์ประมงพื้นบ้านบ้านบางจัน กลุ่มแม่บ้านประมงบ้านบางจัน และสมาชิกบ้านบางจัน ตำบลหล่อยูง อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา




ประเภท : เทคโนโลยี / นวัตกรรมพร้อมใช้

หมวดหมู่ : อาหาร

ระดับผลงาน : TRL9

Tag : ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากหอยพง ข้าวเกรียบหอยพง หอยพงสามรส ผงเปลือกหอย ปรับสภาพดิน

QR code