เทคโนโลยี / นวัตกรรมพร้อมใช้

นำเสนอเทคโนโลยีและนวัตกรรมพร้อมใช้

เครื่องขอดเกล็ดปลา

เครื่องขอดเกล็ดปลาที่พัฒนาขึ้น ประสิทธิภาพในการขอดเกล็ดสามารถขอดได้ถึง 98% เครื่องประหยัดพลังงานโดยการขอดเกล็ด 1 ครั้ง ผู้ใช้เสียค่าใช้จ่ายด้านพลังงานเพียง 6 สตางค์

78 Views
ผู้สนใจ คน

เครื่องขอดเกล็ดปลา

ความรู้ / เทคโนโลยี

เครื่องขอดเกล็ดปลาตะเพียนขาวนี้สามารถรับน้ำหนักปลาได้สูงสุด 30 กิโลกรัมที่ระดับน้ำ 60 ลิตร กระแสไฟฟ้าสูงสุดในขณะเครื่องทำงานมีค่าเท่ากับ 11.8 Adc ที่แรงดันไฟฟ้า 29.2 V กำลังไฟฟ้าขณะทำงานที่ความเร็วรอบระดับ 3 มีค่าเท่ากับ 344.56 Wdc และ 396.36 Wac คิดเป็นใช้พลังงานไฟฟ้า 0.396 หน่วยต่อชั่วโมง หรือเป็นเงิน 0.864 บาทต่อชั่วโมง กำลังไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจากสภาวะไร้โหลด (no load) ที่ความเร็วรอบมอเตอร์ระดับ 3 เป็นจำนวน 4.37 เท่า ที่ความเร็วรอบระดับ 2 เป็นจำนวน 4.88 เท่า และที่ความเร็วรอบมอเตอร์ระดับ 1 เป็นจำนวน 5.87 เท่าและพบว่ากำลังไฟฟ้าและพลังงานไฟฟ้าลดลงเมื่อลดระดับความเร็วลงตามลำดับทั้งในกรณี no load และกรณี Full load จากการทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องขอดเกล็ดปลาตะเพียนขาวนี้พบว่ามีประสิทธิภาพในการขอดเกล็ดปลาได้สูงสุด 98% ทุกระดับความเร็วรอบของมอเตอร์ สภาพของปลาไม่ช้ำเนื้อปลาไม่เละสามารถนำไปแปรรูปได้ หัวปลาไม่ช้ำอาจมีถลอกบ้างบางตัวซึ่งไม่เป็นปัญหาต่อการทำปลาส้ม ยังคงเหลือเกล็ดปลาเล็กน้อยบริเวณรอบๆ ครีบและปลายหางซึ่งสามารถนำไปทำปลาส้มได้เลยหรืออาจนำมาใช้ที่ขอดเกล็ดแบบใช้มือเก็บรายละเอียดเล็กน้อยเท่านั้น เมื่อพิจารณาถึงเวลาที่เหมาะสมที่สุดในแต่ละระดับความเร็วรอบมอเตอร์พบว่าที่ความเร็วรอบมอเตอร์ระดับที่ 1 ใช้เวลาเหมาะสมที่สุดในการขอดเกล็ดปลา 13 นาที ที่ความเร็วรอบมอเตอร์ระดับที่ 2 ใช้เวลาเหมาะสมที่สุดในการขอดเกล็ดปลา 9 นาที และที่ความเร็วรอบมอเตอร์ระดับที่ 3 ใช้เวลาเหมาะสมที่สุดในการขอดเกล็ดปลา 4 นาที หากเกินเวลาที่เหมาะสมนี้แล้วพบว่าปลาบางตัวท้องเริ่มแตก โดยเฉพาะตัวที่มีขนาดเล็กและสภาพไม่ค่อยสด การขอดเกล็ดปลาที่สภาวะ Full load จำนวนปลา 30 กิโลกรัมและน้ำ 60 ลิตร ที่ความเร็วรอบมอเตอร์ระดับที่ 1 เวลาที่เหมาะสมที่สุดในการขอดเกล็ดปลา 13 นาที ใช้พลังงานไฟฟ้า 0.06 หน่วย/ครั้ง คิดเป็นเงิน 0.13 บาท/ครั้ง ที่ความเร็วรอบมอเตอร์ระดับที่ 2 เวลาที่เหมาะสมที่สุดในการขอดเกล็ดปลา 9 นาที ใช้พลังงานไฟฟ้า 0.05 หน่วย/ครั้ง คิดเป็นเงิน 0.11 บาท/ครั้ง และที่ความเร็วรอบมอเตอร์ระดับที่ 3 เวลาที่เหมาะสมที่สุดในการขอดเกล็ดปลา 4 นาที ใช้พลังงานไฟฟ้า 0.03 หน่วย/ครั้ง คิดเป็นเงิน 0.06 บาท/ครั้ง ซึ่งเห็นได้ว่าการทำงานของเครื่องขอดเกล็ดปลาที่สภาวะ Full load ที่ประหยัดพลังงานที่สุดคือที่ความเร็วรอบมอเตอร์ระดับ 3 เนื่องจากใช้เวลาในการขอดน้อยที่สุด

รายละเอียด

การออกแบบและพัฒนาเครื่องขอดเกล็ดปลา จากผลการทดสอบพบว่าเครื่องมีประสิทธิภาพการขอดเกล็ดปลาที่  98%  จำนวนปลาสูงสุดที่สามารถขอดได้ในสภาวะการทำงานสูงสุดคือ  30  กิโลกรัมที่ปริมาณน้ำ  60  ลิตร  โดยใช้พลังงานไฟฟ้าต่ำที่สุดเท่ากับ  0.03  หน่วยหรือคิดเป็นเงิน  0.06  บาท  ที่ระดับความเร็วรอบของมอเตอร์  324  รอบต่อนาที  หรือในความเร็วระดับที่  3  ใช้เวลาในการขอด  4  นาทีต่อครั้ง  สามารถคืนทุนค่าจ้างแรงงานได้ภายใน  4.23  เดือน  ความแตกต่างกับเครื่องเดิมที่มีอยู่แล้วคือ  ประสิทธิภาพในการขอดเกล็ดสามารถขอดได้ถึง  98%  สภาพปลาไม่ช้ำหรือเละ  มีความสะดวกในการถ่ายเทน้ำ  มีฝาปิดกันน้ำกระเด็น  มีความสะดวกในการเคลื่อนย้าย  มีระบบควบคุมง่ายสะดวกใช้เลือกการทำงานได้หลายระดับ  และมีระบบความปลอดภัยสูง  รวมถึงสายไฟมีความยาวถึง  5  เมตร  มีระบบตัดไฟและสายดิน  ที่สำคัญคือเครื่องขอดเกล็ดปลาตะเพียนขาวที่พัฒนาขึ้นเป็นเครื่องประหยัดพลังงานโดยการขอดเกล็ด  1  ครั้ง  ผู้ใช้เสียค่าใช้จ่ายด้านพลังงานเพียง  6  สตางค์

จุดเด่น

ประสิทธิภาพในการขอดเกล็ดสามารถขอดได้ถึง 98% สภาพปลาไม่ช้ำหรือเละ และเครื่องประหยัดพลังงานโดยการขอดเกล็ด 1 ครั้ง ผู้ใช้เสียค่าใช้จ่ายด้านพลังงานเพียง 6 สตางค์

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มปลาส้ม, กลุ่มวิสาหกิจ, กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ปลา

แหล่งเงินทุนที่ใช้วิจัย / นวัตกรรม

ไม่ระบุแหล่งทุน

ชื่อแหล่งเงินทุนที่ใช้วิจัย/นวัตกรรม

ทรัพย์สินทางปัญญา

เจ้าของสิทธิ์

ตัวชี้วัดผลลัพธ์ ROI

ปริมาณหน่วยนับ ROI

ตัวชี้วัดผลลัพธ์ SROI

ปริมาณหน่วยนับ SROI

ตำบลที่ใช้นวัตกรรม

หินโคน

อำเภอที่ใช้นวัตกรรม

อำเภอลำปลายมาศ

จังหวัดที่ใช้นวัตกรรม

บุรีรัมย์

พิกัดที่ใช้นวัตกรรม

นวัตกรชุมชน / ผู้ใช้นวัตกรรม

ออกแบบและพัฒนาเครื่องขอดเกล็ดปลาตะเพียนขาว




ประเภท : เทคโนโลยี / นวัตกรรมพร้อมใช้

หมวดหมู่ : อาหาร

ระดับผลงาน : TRL9

Tag :


QR code