เทคโนโลยี / นวัตกรรมพร้อมใช้

นำเสนอเทคโนโลยีและนวัตกรรมพร้อมใช้

รูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยบูรณาการภูมิปัญญาอาหารไทยสู่การปฏิบัติสำหรับการดูแลสุขภาพของกลุ่มผู้สูงวัย

กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่สามารถนำไปใช้ในกับกลุ่มผู้สูงวัยและผู้ดูแลผู้สูงวัย

20 Views
ผู้สนใจ คน

รูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยบูรณาการภูมิปัญญาอาหารไทยสู่การปฏิบัติสำหรับการดูแลสุขภาพของกลุ่มผู้สูงวัย

ความรู้ / เทคโนโลยี

ความรู้ภูมิปัญญาด้านอาหารไทย และกระบวนการจัดการเรียนการสอน

รายละเอียด

รูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยบูรณาการภูมิปัญญาอาหารไทยสู่การปฏิบัติสำหรับการดูแลสุขภาพของกลุ่มผู้สูงวัย (LIFE3 Model) มีองค์ประกอบ คือ              หลักการ               เรียนรู้แบบมีส่วนร่วมตั้งแต่การกำหนดความต้องการ การปฏิบัติ การสังเกตตรวจสอบ และการประเมินผลและสะท้อนคิด โดยบูรณาการภูมิปัญญาอาหารไทยตามวิถีการดำเนินชีวิตสู่การดูแลสุขภาพ              วัตถุประสงค์               1) เพื่อศึกษาความสามารถในการดูแลสุขภาพด้านอาหารสำหรับผู้สูงวัย               2) เพื่อศึกษาพัฒนาการด้านสุขภาพของกลุ่มผู้สูงวัย               ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน              1) ศึกษารูปแบบการใช้ชีวิตของผู้สูงวัย (Life Style Study) หมายถึง เรียนรู้รูปแบบการใช้ชีวิตในสภาพจริงในการดำเนินชีวิตของผู้สูงวัยโดยการใช้คำถามสำคัญ สู่การกำหนดปัญหา              2) ให้ปฏิบัติอย่างอิสระและร่วมกันสังเกต (Independent practice and Co-Observe) คือ การเปิดโอกาสให้ผู้สูงวัยปฏิบัติโดยอิสระตามสภาพจริงโดยมีการสังเกตพฤติกรรมร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ              3) ให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อปรับพฤติกรรม (Feedback for Behavior Change) คือ การให้ข้อมูลย้อนกลับในข้อเท็จจริงเพื่อสร้างความตระหนักสู่การปรับพฤติกรรม              4) ดูแลและโค้ชโดยผู้เชี่ยวชาญ (Expert Care and Coach) คือ ดูแลให้คำปรึกษา ถ่ายทอด แนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ โดยผู้เชี่ยวชาญ              5) ประเมินผลและสะท้อนคิด (Evaluate and Reflect) คือ การตรวจสอบความรู้โดยผู้เชี่ยวชาญและการสะท้อนคิดของผู้สูงวัยในสิ่งที่เรียนรู้ซึ่งส่งผลต่อความรู้ ทักษะ และทัศนคติ              6) วิวัฒน์รูปแบบการใช้ชีวิต (Evolution of Life) คือ ออกแบบการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ              เงื่อนไขความสำเร็จ              1) การอำนวยความสะดวกด้านเวลา หมายถึง การจัดการเรียนการสอนควรคำนึงถึงความสะดวกด้านเวลาในการร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนของผู้สูงวัย              2) การมีส่วนร่วม หมายถึง เรียนรู้จากความต้องการ ตามความถนัดคุ้นเคย ตั้งแต่การร่วมศึกษาปัญหาการกำหนดปัญหา และแนวทางการแก้ไขปัญหา ซึ่งจะทำให้ผู้สูงวัยเกิดความสนใจและความต่อเนื่องในการเรียน              3) การไม่สร้างภาระ หมายถึง การเรียนการสอนไม่ควรสร้างภาระในด้านต่างๆ เช่น ค่าใช้จ่าย หรืองานที่มอบหมายเกินความจำเป็น ควรให้ผู้สูงวัยมีความสุขในการเรียน               4) สร้างบรรยากาศที่ดีในการเรียนรู้ หมายถึง สภาพของการจัดการเรียนการสอนเป็นลักษณะที่เป็นมิตร เน้นการแลกเปลี่ยน มากกว่าการสอน ผ่อนคลาย

จุดเด่น

ใช้ในการให้ความรู้ด้านอาหารและ การดูแลสุขภาพของผู้สูงวัยและผู้ดูแลผู้สูงวัย

กลุ่มเป้าหมาย

ผู้สูงวัยและผู้ดูแลผู้สูงวัย

แหล่งเงินทุนที่ใช้วิจัย / นวัตกรรม

ไม่ระบุแหล่งทุน

ชื่อแหล่งเงินทุนที่ใช้วิจัย/นวัตกรรม

สกสว.

ทรัพย์สินทางปัญญา

ลิขสิทธิ์ (License)

เจ้าของสิทธิ์

วินัยธร วิชัยดิษฐ์

ตัวชี้วัดผลลัพธ์ ROI

1

ปริมาณหน่วยนับ ROI

1

ตัวชี้วัดผลลัพธ์ SROI

1

ปริมาณหน่วยนับ SROI

1

ตำบลที่ใช้นวัตกรรม

แหลมฟ้าผ่า

อำเภอที่ใช้นวัตกรรม

อำเภอพระสมุทรเจดีย์

จังหวัดที่ใช้นวัตกรรม

สมุทรปราการ

พิกัดที่ใช้นวัตกรรม

นวัตกรชุมชน / ผู้ใช้นวัตกรรม

รูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยบูรณาการภูมิปัญญาอาหารไทยสู่การปฏิบัติสำหรับดูแลสุขภาพของกลุ่มผู้สูงวัย




ประเภท : เทคโนโลยี / นวัตกรรมพร้อมใช้

หมวดหมู่ : การศึกษา

ระดับผลงาน : SRL9

Tag : รูปแบบการจัดการเรียนการสอน บูรณาการภูมิปัญญาอาหารไทย การดูแลสุขภาพของกลุ่มผู้สูงวัย

QR code