เทคโนโลยี / นวัตกรรมพร้อมใช้

นำเสนอเทคโนโลยีและนวัตกรรมพร้อมใช้

เรือไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวทางน้ำในมหาวิทยาลัย

เรือโดยสารพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือกในมหาวิทยาลัย เป็นการออกแบบเรือโดยสารที่มีประสิทธิภาพในการขนส่งทางน้ำที่ประยุกต์ใช้พลังงานสะอาด และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

469 Views
ผู้สนใจ คน

เรือไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวทางน้ำในมหาวิทยาลัย
พร้อมใช้

ความรู้ / เทคโนโลยี

เรือไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับนำมาใช้ในเส้นทางการท่องเที่ยวทางน้ำของมหาวิทยาลัย โดยการนำเอาเรือป๊าบขนาด กว้าง 1.10 เมตร และยาว 4.50 เมตร น้ำหนักรวมประมาณ 300.0 กิโลกรัม ซึ่งเป็นเรือต่อจากไม้สัก มีลักษณะหัวเรือเรียว พื้นที่บริเวณส่วนกลางของตัวเรือจะกว้าง ท้องเรือกลมเกือบแบน ทั้งนี้มีการพัฒนามาจากเรืออีแปะของภาคกลาง (The National Maritime Museum, 2023) ได้ถูกนำมาออกแบบระบบการทำงานและติดตั้งระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (รูปที่ 1) โดยเลือกใช้แผงโซล่าเซลล์ (Mono-Crystalline) กำลังไฟฟ้าสูงสุด (Pmax) เท่ากับ 200.0 วัตต์ กำลังโวลต์สูงสุด (Vmp) เท่ากับ 37.94 โวลต์ ผลิตกระแสไฟฟ้าสูงสุด (Imp) เท่ากับ 5.28 แอมป์ เป็นแหล่งกำเนิดพลังงานไฟฟ้า ขนาดของแผงโซล่าเซลล์กว้าง 80.8 เซนติเมตร ยาว 158.0 เซนติเมตร และน้ำหนักแผง 14.0 กิโลกรัม

รายละเอียด

การออกแบบเรือพลังงานแสงอาทิตย์ระบบไฟฟ้าโซล่าเซลล์ (PV) ที่มีต้นทุนต่ำ และสร้างเป็นจุดเด่นของมหาวิทยาลัยในการนำล่องสร้างต้นแบบศูนย์เรียนรู้พลังงานทดแทน ที่ส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทนและเป็นศูนย์ถ่ายทอดความรู้ให้บุคคลที่สนใจ เรือไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ได้พัฒนาขึ้นโดยการประยุกต์ใช้พลังงานทดแทนมาใช้ในการขับเคลื่อนเรือป๊าบขนาด กว้าง 1.1 เมตร ยาว 4.5 เมตร และน้ำหนักรวมประมาณ 300.0 กิโลกรัม ใช้ไฟฟ้าโซล่าเซลล์ (PV) ขนาดกำลังไฟฟ้า 200.0 วัตต์ เลือกใช้แบตเตอรี่ลิเธี่ยมฟอสเฟส (iFePO4) ความจุของกระแสไฟฟ้าอยู่ที่ 100.0 แอมป์ และแรงดันไฟฟ้า 25.9 โวลต์ จ่ายกระแสไฟฟ้าไปใช้ในการขับเคลื่อนมอเตอร์ไกด์ (Trolling motor) ที่มีกำลัง 414.0 วัตต์ (รุ่น 40.0 ปอนด์) เรือสามารถแล่นด้วยความเร็วสูงถึง 8.0 กิโลเมตร/ชั่วโมง และแบตเตอรี่สามารถแล่นเรือได้ติดต่อกันเป็นเวลา 4.5-8.0 ชั่วโมง/รอบ

จุดเด่น

เรือไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับเป็นต้นแบบการเรียนรู้และส่งเสริมการท่องเที่ยวทางน้ำของมหาวิทยาลัย ที่มีจุดเด่นที่แตกต่างด้วยการนำเรือไม้ของไทยมาประยุกต์ใช้งานร่วมกับระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ สร้างเสน่ห์ให้กับเรือไม้ของวิถีไทยดั้งเดิม ส่งเสริมการประยุกต์ใช้พลังงานทดแทนในชีวิตประจำวัน และสร้างพื้นที่เรียนรู้ในมหาวิทยาลัยอีกด้วย โดยการพัฒนาระบบการทำงานของพลังงานแสงอาทิตย์เชื่อมต่อเป็นระบบชาร์จพลังงานให้มีความเสถียร เพื่อขับเคลื่อนเครื่องยนต์ใช้สำหรับขับเคลื่อนเรือได้อย่างต่อเนื่อง ลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิง ที่ก่อให้เกิดมลพิษ และรักษาสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ไว้ซึ่งการเลือกประยุกต์ใช้กับเรือที่มีอยู่ในชุมชนและวิถีชีวิตของคนไทย

กลุ่มเป้าหมาย

เกษตรกร, ชาวประมง, แหล่งท่องเที่ยวทางน้ำ, พลังงานทดแทน

แหล่งเงินทุนที่ใช้วิจัย / นวัตกรรม

ไม่ระบุแหล่งทุน

ชื่อแหล่งเงินทุนที่ใช้วิจัย/นวัตกรรม

ทรัพย์สินทางปัญญา

สิทธิบัตร (Patent)

เจ้าของสิทธิ์

ตัวชี้วัดผลลัพธ์ ROI

ปริมาณหน่วยนับ ROI

ตัวชี้วัดผลลัพธ์ SROI

ปริมาณหน่วยนับ SROI

ตำบลที่ใช้นวัตกรรม

คลองหนึ่ง

อำเภอที่ใช้นวัตกรรม

อำเภอคลองหลวง

จังหวัดที่ใช้นวัตกรรม

ปทุมธานี

พิกัดที่ใช้นวัตกรรม

มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

นวัตกรชุมชน / ผู้ใช้นวัตกรรม




ประเภท : เทคโนโลยี / นวัตกรรมพร้อมใช้

หมวดหมู่ : อื่นๆ

ระดับผลงาน : SRL9

Tag : เรือไฟฟ้า พลังงานทดแทน ท่องเที่ยว EV

QR code